ตรากรมพัฒนาที่ดิน

เครื่องหมายราชการแห่งกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 
เป็นรูปพระอิศวรปางประทานพร และมีภาพประกอบภายในกรอบวงกลม อันแสดงความหมายเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วย ดิน พืช ฝน แสงอาทิตย์ เบื้องล่างของภาพมีตัวอักษรกรมพัฒนาที่ดิน

ประวัติสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร

   สถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร ตั้งอยู่ที่บ้านสามขา เลขที่ 270 หมู่ที่ 15 ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร สังกัดสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 กรมพัฒนาทีดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2537 กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหารและได้มีคำสั่งกรมพัฒนาที่ดิน ที่ 4978/2537 ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แต่งตั้งให้ข้าราชการในสังกัดสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 ไปปฏิบัติงานที่ สถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร โดยเช่าที่ทำการอาคารเลขที่ 148 หมู่ที่ 17 ตำบลมุกดาหารอำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ต่อมา ปี พ.ศ. 2538 กรมพัฒนาที่ดิน ได้รับอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้างอาคารที่ทำการบ้านพักข้าราชการและลุกจ้างประจำ ฯลฯ ของสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร บริเวณที่สาธารณประโยชน์ของบ้านสามขา หมู่ที่ 2 (หมู่ที่ 15 ในปัจจุบัน) ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร (ถนนสายมุกดาหาร - ธาตุพนม กม. ที่ 18) โดยสภาตำบลคำป่าหลายได้มอบพื้นที่ดังกล่าวในจำนวน 116 ไร่ เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ย้ายจากที่ทำการเดิมเข้ามาปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการใหม่ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2539

ทำเนียบผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร

Komkrit

นายคมกริช จินดามณี

ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร

 

ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน

นายเรียบ บริสุทธิ์ชื่นใจ Kachen kanisarin sakarin
นางเดือนเพ็ญ ชำนาญ
เจ้าพนักงานการเกษตรอาวุโส
ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 1
นายคเชนทร์ สูฝน
นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 2
นางคนิสริน เย็นไทย
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 3
นายศักรินทร์ จันทรัตน์
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
ฝ่ายวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดินที่ 4
weerayut meechai ampon
นายธนากร ประชุมศรี
นักวิชาการเกษตร
นายมีชัย ทองคำ
นักวิชาการเกษตร
นายอำพล ซาเสน
นักวิชาการเกษตร 
- -
- -

 

 ฝ่ายบริหารทัวไป

ปรางค์ทิพย์
นางสาวปรางค์ทิพย์ ชุมจันทร์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
 
mongkol niwat Kesarin
นายมงคล มหามาตร
เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ 
นางกาญจนา สาวันดี
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นางเกศริน ชื่นตา
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 
kanjana
นางนิรัน แซ่ตัง
นักวิชาการเงินและบัญชี 
- -
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
- -
เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย 
  saifon 1  
 
นางสายฝน คำลือไชย
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล
(ลูกจ้างชั่วคราว)
 

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร


     
ยังไม่มีคำอธิบายภาพนี้  อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรมพัฒนาที่ดิน
     


1.
ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ดินและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.
ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ และจำแนกดิน เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน การกำหนดบริเวณการใช้ที่ดิน การควบคุมการใช้ที่ดินบริเวณที่มีการใช้หรือทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมี หรือวัตถุอื่นใด การกำหนดเขตอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งติดตามสถานการณ์สภาพการใช้ที่ดิน

3.
ศึกษา วิจัย และพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตรในไร่นา การปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตและใช้เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน การปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการที่ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตร

4.
ให้บริการวิเคราะห์และตรวจสอบดิน น้ำ พืช ปุ๋ย พร้อมให้คำแนะนำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดิน

5.
ศึกษา วิเคราะห์ และผลิตแผนที่ภาพถ่าย จัดทำสำมะโนที่ดิน และพัฒนาระบบแผนที่ฐาน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้ การพัฒนาการผลิต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรและอื่น ๆ

6.
ถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดิน รวมทั้งสร้างเครือข่ายหมอดินอาสา และกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง เพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ดินและด้านอื่น ๆ

7.
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 วิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาที่ดิน
     
  เป็นองค์การอัจฉริยะทางดิน 
  เพื่อขับเคลื่อนการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม 15 ล้านไร่ ภายในปี 2570  
     

     
 พันธกิจของกรมพัฒนาที่ดิน
     
1.  สำรวจ วิเคราะห์ จำแนกดิน และสำมะโนที่ดิน เพื่อวางแผนการใช้ที่ดินด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
2.  พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการดินที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
3.  สร้างศูนย์กลางข้อมูลอัจฉริยะทางดินของประเทศ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน
4.  พัฒนาที่ดินด้วยระบบการบริหารจัดการเชิงรุก ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมด้านการวางแผน ถ่ายทอดเทคโนโลยี อนุรักษ์ดินและน้ำ และปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อรักษาสมดุลความเสื่อมโทรมของที่ดินและนิเวศเกษตร
5.  ยกระดับองค์การด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรรม
   

     
ค่านิยมองค์กร : TEAM For Soils
     
  TEAM For Soils (ทีมดี ดินดี)  
  T-Teamwork : สร้างทีม
  E-Energetic : ทำงานเชิงรุกอย่างมีพลัง 
  A-Agile : คล่องแคล่ว 
  M-Move Forward : มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
     
     

สงวนลิขสิทธิ์ ©2566 โดย สถานีพัฒนาที่ดินมุกดาหาร
Design by Mukdahan Land Development Station